Openstack 101
Openstack คืออะไรมารู้จัก Openstack กันเถอะ~
.
สวัสดีจ้าา แอดหมีอยากขี่รถไฟฟ้ากลับมาแล้ว วันนี้แอดจะพามารู้จักกับระบบ Openstack ที่เรียกได้ว่าใหญ่มากๆ และน่าจะเป็น Series ยาวเลยทีเดียว
.
เกริ่น! หลายๆคนน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ Infrastructure as a service มาหลายค่ายด้วยกัน ส่วนมากก็จะเป็น Public service อย่างดังๆที่ใครๆเห็นคงอ๋อ เช่น AWS, Microsoft Azure หรือ Google Cloud Platform เป็นต้น แล้วถ้าสมมติว่าเรามีการทำ data center ใช้เอง อยากมีระบบเหล่านี้ใช้เองจะทำยังไงดีล่ะ อันที่จริงแบบ Private มันก็มีเหมือนกัน เช่นของทาง VMWare หรือ Nutanix แต่บางคนอาจจะมีความคิดว่า มันแพงอ่ะทำไงดี โอเคได้งั้นเรามารู้จักกับ Openstack กันดีกว่า พล่ามมานานมาเข้าเรื่องเถอะ 55555+
.
Openstack คือ Software Solution ที่ใช้ทำ Infrastructure as a service แบบใช้เองในองค์กร และที่สำเพ็ง เฮ้ย สำโรง เฮ้ย สำคัญ เฮ้ย ถูกแล้ว!!! มันเป็น Opensource ซะด้วย เรามาดูประวัติสั้นๆกันหน่อยว่าใครเป็นคนเริ่ม ซึ่ง Openstack มีคนริเริ่มตัวหลักจริงจังอยู่ 2 องค์กร คือ NASA และ Rackspace Inc. ปัจจุบันเป็นการจัดการผ่านทาง Openinfra Foundation ประวัติสั้นๆก็ทำนองนี้ มาดู Concept คร่าวๆดีกว่าว่าเป็นยังไง
.
ตัวของ Openstack นั้นไม่ใช่ระบบ Hypervisor ไม่ใช่ระบบ Storage ไม่ใช่ระบบจัดการ Networking แบบที่คิดแน่ๆ อ้าวละมันจะมีมาเพื่ออะไรละเอ้อ!! จริงๆ มันเป็นแค่ Application ที่ติดตั้งลงไปใน Server เพื่อควบคุมระบบเหล่านั้นอีกที หลายคนอาจจะมีความสงสัย แบบว่าถามจริ๊ง เอางี้เอาทีละประเด็นก่อนแบบไม่ยาวมาก Hypervisor จริงๆ มีอะไรบ้างล่ะ เอาที่ใช้ใน Openstack จริงๆมันก็คือ Linux KVM นี่แหละ แล้ว Storage ล่ะ ก็มีหลายตัวไม่ว่าจะเป็น Object Store, Linux LVM, Linux File Store หรือแม้กระทั้ง RBD ที่อยู่ใน Ceph หรือตัวของ Network ก็มี Openvswitch, Linux Bridge เป็นต้น (จริงๆคือมันเยอะกว่านี้แต่เอาเท่าที่นึกออกก่อน ไม่งั้น blog กลายเป็นเรียงความแน่ๆ) แต่อย่าเพิ่งคิดแย้งว่าแล้วเราจะมี Openstack ไปทำมะพร้าวอะไรล่ะทั้งๆ ที่มันก็ไม่ได้มีใหม่อะไรเลย ของเก่ามันก็พอใช้ได้ไม่ใช่หรอ ช้าก่อนท่านทั้งหลาย อย่างที่อธิบายไปเมื่อกี้เพราะด้วยความที่ว่า Module พวกนั้นมันกระจัดกระจายไปหม๊ดเลย จะทำอะไรก็ต้องไปสั่งงานเองทีละ Module เปลืองเวลาไหม ยากไหม ไหนจะเรื่อง Admin Error เผื่อ config พลาดอีก งั้นก็เอาแนวคิดที่ว่า งั้นฉันก็รวมมันไว้ที่จุดเดียวเลยสิ สั่งงานง่ายๆผ่านเว็บได้ ใครไม่พอใจเว็บก็มี API มาเรียกให้สามารถเชื่อมกับอย่างอื่นได้ นี่แหละคือจุดประสงค์การเกิดมาของ Openstack คือการรวมการจัดการไว้ให้ในที่เดียวทั้งการจัดการ Virtual Machine (หลังจากนี้จะขอเรียกว่า Instance), Storage ให้ Instance ใช้งาน, IP Address, VLAN หรือ Network อื่นๆให้กับ instance และสามารถสั่งงานได้ผ่านทาง Web Base เลย หรือใครไม่พอใจตามสิ่งที่เค้ามีให้ แล้วมีความสามารถจะ develop อะไรบางอย่างได้, develop แล้วเอาไป plug ได้เลย โอ้โหมันจะวิเศษอะไรขนาดนี้!! นี่แหละคือความ Open Source นี่แหละการสั่งการผ่านความเป็น Software defined นี่แหละความ Openstack~~
.
อันนี้ก็เป็น concept คร่าวๆ ของ Openstack จริงๆจะบอกว่า Openstack มันเป็นระบบที่เรียกแบบรวมๆเลยเพราะที่จริงแล้วมันมี Module หลายๆ Module มาประกอบร่างกันเพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้ไม่ว่าจะเป็น Cinder, Glance, Neutron, Nova, Keystone, Horizon, Heat และ Placement เป็น Module พื้นฐานที่ทำให้ระบบ Openstack สามารถใช้งานได้ ที่จริงมันยังมี Module อีกประมาณล้านแปดที่เอามาใช้กับ Openstack อีกแต่ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ส่วน Module ที่กล่าวไว้ข้างต้นมันคืออะไร และแต่ละอันไว้ใช้ทำอะไร เดี๋ยวไว้มาขุดมันทีละตัวกันดีกว่า วันนี้ไว้แค่นี้ก่อน ไว้เจอกันใหม่ blog หน้า บรัยยยย~
.
สนใจบริการ Cloud คุณภาพเยี่ยม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่
: 02-026-3124
Line : @metrabyte (https://line.me/R/ti/p/%40158oqtgp)
.
Metrabyte Cloud ยินดีให้บริการค่ะ